Feeds:
Posts
Comments

Archive for June, 2010


สำรับเรื่องขุยมะพร้าวที่ใช้ปลูก กล้วยไม้ ฟาแลนด์
เริ่มใช้ได้ตั้งแต่ขั้นออกขวด อนุบาลต้น กล้วยไม้ เล็ก
ขั้นตอนแรก ก็คือ ต้องนำขุย มะพร้าวมาใส่กระสอบขาวแล้วแช่น้ำประปาทิ้งไว้ ในภาชนะและต้องเปลื่ยนถ่ายน้ำทุกวัน เปลื่ยนน้ำจนน้ำที่แช่ใส ไม่มีสีน้ำตาลเจือปน แสดงว่าเทนนิน ในมะพร้าวหมดแล้ว ใช้เวลาแช่ประมาณ เดือน สองเดือน เสร็จแล้วนำขึ้นมาตากแดด เก็บใส่กระสอบไว้ใช้ภายหลัง เมื่อเวลาจะนำมาใช้จึงค่อยนำมาแช่น้ำกอนใช้อีกที
สำรับการใช้สำรับ กล้วยไม้ สกุลฟาแลนด์ เมื่อทุบออกขวดล้างวุ้นแล้ว
-นำกระถางพลาสติกทึบ 4นิ้วหรือ5นิ้ว เอาโฟมหักเป็นก้อนๆ รองก้นกระถางให้สูง ขึ้นมาประมาณเกือบ 3ใน4ของกระถาง แล้วใส่ขุยมะพร้าวที่แช่แล้วให้สูง ประมาณ 1นิ้วครึ่งหรือมากกว่านั้นแต่ไม่เกิน2นิ้ว เอาคีมปลายแหลมแบบที่ใช้ในโรงพยาบาล คีบ ต้นลุก กล้วยไม้ เอารากฝังลงไปในขุยมะพร้าวแต่ห้ามฝังมิดโคนต้น พยายามให้ราก ลอยๆขึ้นมานิดนึง ใส่กระถางนึงให้ดำลูก กล้วยไม้ ให้เต็มพื้นที่ แล้วรดน้ำด้วยบัวหัวละเอียด หรือหัวฉีดฝอย วันละ 1ครั้ง ช่วงค่ำ สังเกตุดูว่าถ้าวันถัดมายังชื้นอยู่มาก จนถึงเย็น ก็รดผ่านๆแค่เพียงพอ เปียกใบ กล้วยไม้

Read Full Post »

การออกขวด และอนุบาลลูก กล้วยไม้ ขวด กลุ่มแวนด้า

เอื้องโมก กุหลาบ เขาแกะ นิสัยธรรมชาติ -เป็นกล้วยไม้ที่ ชอบอากาศค่อนข้างร้อน ไม่ชอบแฉะ แสง ลมมากเพียงพอ
สามปอย ชอบรำไร ลมผ่านอากาศถ่ายเท สะดวก จะโตเร็วมาก ไม่ชอบเครื่องปลูกแน่น แฉะ เป็น รากอากาศ
การออกขวดเอื้องโมก และ กล้วยไม้ กลุ่มแวนด้าทั่วไป
1 เมื่อ ล้างวุ้น แล้ว เรียงผึ่งในตระกร้าอาจใช้สแฟกนั่มมอสรองก้นกระเช้าบางๆก็ได้(หรือกระถางดิน เผาที่รองก้นด้วยถ่านและสแพ็กนั่มมอส) ภายในช่วงอาทิตย์แรกๆ วางไว้ที่ร่มอากาศถ่ายเท ไม่อับลมและไม่มีไอร้อน เสปรย์น้ำวันละ2ครั้งให้ชุ่ม เช้า กับ ค่ำ
2 ใช้ยากันเชื้อรา ยี่ห้อ ออร์โธ่ไซด์ อัตราส่วนเจือจาง (2ช้อนชา/น้ำ1ลิตร) ฉีดพ่น ลุก กล้วยไม้ 2อาทิตย์/ครั้ง
3 เมื่อ ลูก กล้วยไม้ เริ่มมีรากใหม่แทงออกมา ให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 21-21-21 ใช้อัตราส่วนเพียง1ใน3 ของที่ระบุไว้ข้างฉลาก ผสมน้ำฉีดพ่น สัปดาห์ละ1ครั้ง
4 เมื่อลูก กล้วยไม้ ขวดเริ่มแข็งแรง มีรากใหม่ 2-3 เส้น (อายุหลังจาก กล้วยไม้ ออกจากขวด 4-6สัปดาห์ ขึ้นไป) นำตระกร้าที่อนุบาลไม้นิ้ว ไปแช่น้ำ สัก5-10นาที เพื่อให้ราก กล้วยไม้ อ่อน แล้วค่อยๆดึงแยกเป็นต้นๆอย่างเบามือ นำมาปลูกในภาชนะขนาด 3.5 หรือ4 นิ้ว
4.1 ต้นลูก กล้วยไม้ ขวด ขนาดเล็ก อาจย้ายปลูกโดยใช้ก้อนมะพร้าวตุ้ม*(เช่นเดียวกับที่นิยมใช้ปลูกแคทลียา) หรือใช้มะพร้าวสับ*ชิ้นหยาบๆ รองก้นกระถางด้วยถ่านที่แช่น้ำจนจม หรือใช้โฟมหักเป็นชิ้นๆรองก้นกระเช้าแทนก็ได้
4.2 การรดน้ำลูก กล้วยไม้ เล็กจากขวด ควรรดตอนเช้าก่อนที่แดดแรง หรือตอนค่ำหลังตะวันตกดินแล้ว ควร ระวังอย่า ให้แฉะมากเกินไป หรือ อย่าใช้หัวฉีดน้ำฉีดจ่อไปตรงๆที่ต้น กล้วยไม้ จะทำให้ช้ำเน่าง่าย รดน้ำโดยส่ายหัวฉีดส่ายไปมาจนชุ่ม
5.พยายามอย่าแขวนลูก กล้วยไม้ ไว้ที่อับลม หรือที่ร้อนจัด หรืออยู่ใต้ซาแรนก็ควรพรางซาแรน2 ชั้น

*มะพร้าวที้ซื้อหานำมาปลูก กล้วยไม้ จำเป็นต้องแช่และถ่ายน้ำใหม่ทุกวัน จนกว่า น้ำที่แช่มะพร้าวเหล่านั้น จะใสไม่มีน้ำสีน้ำตาลเจือปน เพื่อกำจัด สารเทนนินที่อาจเป็นอันตรายกับราก กล้วยไม้ ที่อยู่ในมะพร้าวออกให้หมด

Read Full Post »

ตามรูปที่ นำมาแสดง นี้ หากดูผิวเผินแล้ว ก็คิดว่าเป็นต้นหญ้า แต่ที่จริงแล้ว เป็น กล้วยไม้ ที่มีลักษณะ ใบแปลกประหลาดมากที่สุดชนิดหนึ่ง ในวงค์ กล้วยไม้ เพราะขนาดใบที่ลดรูปเป็นเส้นเล็กๆกลมๆ คล้ายกับใบสน หรือใบหญ้าบางชนิด กล้วยไม้ ชนิดนี้ คือ Dendrochilum tenellum เป็น กล้วยไม้ พันธุ์แท้ พื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ เป็น กล้วยไม้ ที่ขึ้นในป่าธรรมชาติที่ระดับความสูง1000เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป ดอกมีขนาดเล็กมากสีขาว เรียงตัวเป็นช่อห้อย จากปลายใบ ลักษณะดอก กล้วยไม้ ชนิดนี้ดู คล้ายดอกหญ้ามาก

Read Full Post »

สวัสดีครับ ช่วงนี้ กล้วยไม้ กำลัง สดชื่น จาก น้ำฝนที่ตกลงมา สายฝนก็มีประโยชน์กับ กล้วยไม้ เพราะมีธาตุไนโตรเจน ที่ จำเป็น สำรับ กล้วยไม้ ช่วงนี้ จึงสังเกตุได้ว่า กล้วยไม้ เราแตกใบอ่อน ยอดอ่อน และมีรากใหม่ออกมเยอะ โดยเฉพาะอย่ายิ่งที่ปลายรากจะมีเมือกวุ้นสีขาวๆ หุ้มอยู่ที่ปลายราก กล้วยไม้ สิ่งนี้มีประโยชน์นะครับ ไม่ต้องไปเอาออก แต่ที่ควรระวัง สำรับ กล้วยไม้ หน้าฝน ก็คือระวังโรคราและแมลงต่างที่จะมาทำลาย กล้วยไม้ ของเรา โดนเฉพาะเพลี้ยไฟและเต่าทอง

Read Full Post »


รองเท้านารี เป็น กล้วยไม้ พื้นเมืองของไทย มีทั้งชนิด ที่ขึ้นบนพื้นดิน ตามโขดหิน และมีบางชนิด ขึ้นอิงอาศัยอยู่บนคาคบไม้ กล้วยไม้ มีการปลูกเลี้ยงอย่างแพร่หลาย มีสมาคม ชมรม ของ ผู้ ปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ รองเท้านารี ในหลายๆจังหวัด การพัมนาสายพันธุ์ และการปรับปรุงพันธุ์ กล้วยไม้ นิดนี้ มีการดำเนินการมาต่อเนื่องยาวนาน จุดประสงค์เพื่อปรับปรุง สี แลละ รูปทรง ของดอกให้ดีขึ้น กว่า พันธุ์ กล้วยไม้ ดั่งเดิม ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นสำคัญ

Read Full Post »


การใช้ กล้วยไม้ ในงานภูมิทัศน์ ส่วนใหยญ่มักแบ่งเป็น สองประเภท ทั้ง แบบ ที่จัดในอาคาร หรือจัดตกแต่งกลุ่ม กล้วยไม้ ที่อยู่ในร่มเงา อาจใช้ กล้วยไม้ ประเภท ที่ไม่ชอบแสงแดดจัด เช่น
กล้วยไม้ สกุล ฟาแลนด์น็อปซิส ลูกผสม หรือ กล้วยไม้ สกุลรองเท้านารี

ส่วนการจัดตกแต่ง กล้วยไม้ กลางแจ้ง ในส่วนจัดสวนที่ ได้รับแสง มาก ควรเลือก กล้วยไม้ ที่ทนต่อความร้อนและแสงแดดจัด เช่น กล้วยไม้ ดินตระกูลสปาโตกลอติส (Spathoglotiss sp. ) หรือ เอื้องโมก (Paphilionanthe teres) เป็นต้น
การจัดสวนประกอบ กล้วยไม้ ควร จัดวางร่วม กับองค์ประกอบอื่นๆเช่นก้อนหิน น้ำตก รวมทั้งไม้ต้น ไม้ดอกและไม้ใบชนิดต่างๆ อย่างกลมกลืน และ พรรณไม้แต่ละประเภท ควรที่จะมีการวิธีการปฏิบัติดูแล เพื่อง่ายแก่การบำรุงรักษา สวนโดยรวม

Read Full Post »

กาเรการ่อน ( Cymbidium findlaysonianum) เป็น กล้วยไม้ พื้นเมือง ชนิดหนึ่งของไทยที่พบ ขึ้นทั่วไปตามพื้นที่ธรรมชาติต่างๆทั่วไป โดยชนิดนี้มากพบในป่าโปร่ง หรือป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ กล้วยไม้ ชนิดนี้ มีชื่อพื้นเมือง ที่เรียกต่างๆกันไปในแต่ละพื้นที่ เช่น เอื้องต๊กโต เป็นต้น กล้วยไม้ ชนิดนี้ทั่วไป มักพบสีน้ำตาลแดงเป็นพื้น ดอกขนากเล็ก ดอกดก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ แต่ในส่วนที่หายาก คือสีเหลืองล้วน เป็นรูปแบบเผือกที่หายากนั่นเอง

Read Full Post »

เอื้องกุหลาบพวง เป็น กล้วยไม้ ในสกุล Aerides ซึ่งเป็น กล้วยไม้ ที่พบมากในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็น กล้วยไม้ ที่เลี้ยงง่ายมีกลิ่นหอม สีของดอกส่วนมากเป็นสีชมพู หรือ ชมพูอมม่วง เป็น กล้วยไม้ ที่เลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้ดี ดอกดกและมีกลิ่นหอม กล้วยไม้ ชนิดนี้ ออกดอกเพียงปีละครั้ง แต่ ก็คุ้มค่าแก่การ รอคอยเป็นอย่างยิ่ง สีที่หายากใน กล้วยไม้ สกุลเอื้องกุหลาบ คือสีขาว หรือ สีฟอร์มเผือก

Read Full Post »

กล้วยไม้ ก็เป็นพืชที่เมื่อปลูกเลี้ยง ก็มักต้องมีการบำรุงรักษาเรื่องปุ๋ย ยา และ ป้องกันโรคแมลง ศัตรูพืช ที่จะเข้ามาทำลาย กล้วยไม้ โดยปรกติมัก ใช้สารเคมี เพื่อป้องกันกำจัด แต่ก็มีผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและต่อเกษตรกร ผู้ปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ ที่จะเสี่ยงได้รับสารพิษโดยตรง จงมีผู้ประกอบการ และนักวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับ กล้วยไม้ หลายๆภาคส่วน พยายามที่จะแสวงหาหนทางที่จะลดการใช้สารเคมีในการปลูกเลี้ยง กล้วยไม้ ทั้งวิธีทางชวีภาพ และการป้องกันทางกายภาพ เช่นการกางมุ้ง หรือ ตาข่ายปกปิด ครอบคลุมบริเวณที่เลี้ยง กล้วยไม้ เพื่อป้องกันแมลงเข้ามาอาศัย ในโรงเรือน กล้วยไม้ ซึ่งก็เป็นวิธีหนึ่งที่ได้ผลดี พอควร และสามารถลด การใช้สารเคมีใน กล้วยไม้ ได้ดี

Read Full Post »


กล้วยไม้ ขนาดเล็กจิ๋วของไทย มีหลายชนิด ที่อาศัยแมลงขนาดเล็กตามธรรมชาติเพพื่อช่วยผสมเกสร กล้วยไม้ เหล่านั้น มักมีกลไก รูปแบบต่างๆ กันไปเพื่อล่อแมลง เช่น กล้วยไม้ สกุลเอื้องตะขาบจิ่ว (Microsuccus grifithii ) มักมีดอกขนาดเล็กจิ๋ว ที่มีกลิ่นหอม หรือ กล้วยไม้ ในสกุล เอื้องจิ๋ว Schonorchis sp. มักมี เดือยใต้ดอกเป็น กระเปาะเก็บน้ำหวานสำรับล่อแมลง หรือ กล้วยไม้ สกุลพัดนางชี Oberonia sp. มีดอกและช่อดอกที่มีสีสรร คล้ายสีผลไม้ที่สุกงอม หรือ บางชนิด คล้ายสีเนื้อเน่า เพื่อล่อแมลงหวี่ หรอ มดเล็กๆให้เข้ามาช่วยผสมเกสร ดอก กล้วยไม้

กล้วยไม้ สกุลเอื้องจิ๋ว นี่มักจะติดฝักง่ายและติเมล็ดคราวละมากๆ และส่วนมากมักขึ้นอยู่บนกิ่งไม้สูงๆ ต้องอาศัยลมช่วยกระจายเมล็ดแก่ให้ปลิวไปตามลม แมลงที่น่าจะเป็นผู้ช่วยผสมเกสรดอก กล้วยไม้ชนิดนี้ น่าจะเป็น มดเล็กๆที เดินไต่ไปตามลำต้นของต้นไม้ใหญ่

Read Full Post »

Older Posts »